ชุดทดสอบสารซัลไฟต์ในอาหาร (สารฟอกขาว)

-หลักการ
       สารในกลุ่มซัลไฟต์ ที่นิยมใช้กันคือซัลเฟอร์ไดออกไซค์ โซเดียมซัลไฟต์ โซเดียมไบซัลไฟต์ และโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ มีการนำมาใช้ในอาหารเพื่อฟอกสีอาหาร ให้ขาวและยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ ราและแบคทีเรีย ทำให้เก็บรักษาอาหารได้นาน ไม่เน่าเสียเร็ว กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้ได้ในอาหารบางชนิดเท่านั้นแต่ก็ยังมีการ นำสารกลุ่มซัลไฟต์มาใช้ในอาหารชนิดต่างๆ จำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาชุดทดสอบสารซัลไฟต์ในอาหารเพื่อให้สามารถนำไปรวจสอบ ซัลไฟต์ในอาหารนอกห้องปฏิบัติการทราบผลได้รวดเร็ว และมีความแม่นยำสูง
-ประโยชน์ของชุดทดสอบ ชุดทดสอบนี้าสามารถตรวจสอบการเจือปนของสารซัลไฟต์ในอาหารชนิดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว -จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุดชุดตรวจ ชนิด ตรวจได้ 50 ตัวอย่าง อายุการใช้งานนับจากวันที่ผลิต 1 ป
-ความไวของชุดทดสอบระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (พีพีเอ็ม) ของโซเดียมซัลไฟต์ (ซัลไฟต์อิสระ)
ขั้นตอนการทดสอบชุดทดสอบสารซัลไฟต์ในอาหาร

1. ถ้าอาหารเป็นของเหลวหรือมีของเหลวผสมอยู่ในอาหารให้เท
    ของเหลวลงในถ้วยพลาสติก 10 มิลลิลิตร แต่ถ้าอาหารเป็น
    เป็นของแข็งให้ตักอาหารมาครึ่งช้อนชา ใส่ในถ้วยพลาสติก
    เติมน้ำสะอาดประมาณ 10 มิลลิลิตร แช่ไว้ประมาณ 1 - 2 นาที
2. หยดน้ำยาในขวดหยด จำนวน 3 - 4 หยด ลงในถ้วยเขย่าให้เข้า
    กัน สังเกตุสีที่เกิดขึ้น
การประเมินผล
1. ถ้าสีของน้ำยาที่เติมลงไปหายไปในทันที ( ไม่มีสีน้ำเงิน - ม่วง
    เกิดขึ้น) แสดงว่ามีสารซัลไฟต์เจือปน
2. ถ้าของเหลวเป็นสีน้ำเงิน-ม่วง แสดงว่าไม่มีสารซัลไฟต์เจือปน

การปฏิบัติเมื่อใช้ชุดทดสอบสารซัลไฟต์เสร็จแล้ว
- ถ้วยพลาสติก : ให้เทน้ำในถ้วยพลาสติกทิ้ง ใส่น้ำสะอาดประมาณครึ่งถ้วย เขย่าเททิ้งทำซ้ำ 2-3
   ครั้งแล้วคว้ำถ้วยหรือเช็ดให้แห้งก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องชุดทดสอบ
- ขวดน้ำยา : ปิดจุกให้แน่น แล้วเก็บในกล่องชุดทดสอบ

ข้อควรระวัง
- เอ็นไซม์ในผักสดจะมีผลต่อการทดสอบ ดังนั้นห้ามบดตัวอย่าง
- อย่าวางชุดทดสอบไว้ไกล้มือเด็ก

หมายเหตุ วิธีทดสอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ใช้งานควรอ่านรายละเอียดคู่มือการใช้ชุดทดสอบ ที่แนบไปพร้อมกับชุดทดสอบอีกครั้ง