ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร / สั่งซื้อร่วงหน้า 15 วัน
-หลักการ
การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุของโรคทางเดินอาหาร แบคทีเรียขนิด โคลิฟอร์มที่ปนเปื้อนในอาหารเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าอาหารนั้นไม่สะอาด กระทรวงสาธารณะสุขจึงมีประกาศฯ ฉบับที่ 144(พ.ศ.2535),265 (พ.ศ.2545)ฯลฯ กำหนดปริมาณโคลิฟอร์มในอาหาร แต่ปัจจุบันยังตรวจพบโคลิฟอร์มในอาหารเกินมารตฐาน ดังนั้น รกมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้พัฒนาชุดทดสอบ โคลิฟอร์มในอาหารขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปตรวจสอบเชื้อ โคลิฟอร์มในอาหารนอกห้องปฏิบัติการได้ และทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง
-ประโยชน์ของชุดทดสอบ ใช้ตรวจสอบเบื้องต้นว่า อาหารมีการปนเปื้อนของเชื้อบักเตรีชนิด โคลิฟอร์มเกินมาตรฐานหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ
-จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุดชุดตรวจ ชนิด ตรวจได้ 30 ตัวอย่าง อายุการใช้งานนับจากวันที่ผลิต 3 เดือน
-ความไวของชุดทดสอบจำนวนโคลิฟอร์มต่ำสุดที่ตรวจได้ 10 โคลินี หรือ 10 ตัว ในอาหาร 1 กรัม
-อุปกรณ์ในชุดทดสอบ
1. กระดาษทดสอบ 30 ซอง
2. หลอดฉีดยาปราศจากเชื้อ 60 หลอด
3. ถุงพลาสติกปราศจากเชื้อ 30 ใบ
4. น้ำยา 1 และน้ำยา 2 อย่างละ 30 ขวด
5. สำลีและขวดแอลกอฮอล์ 1 ชุด
6. น้ำยาฆ่าเชื้อ 1 ขวด
7. ช้อนและไฟแช็ก 1 ชุด
8. คู่มือชุดทดสอบ 1 แผ่น
- อุปกรณ์ประกอบการตรวจทดสอบ
- เครื่องชั่งที่อ่านได้ละเอียด 1 กรัม
- กรรไกร
- ขั้นตอนการทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร
- อาหารควบคุมประกาศกระทรวงสาธารณสุข / อย. นมพลาสเจอร์ไรส์ นมข้นหวาน แยม เยลลี่ มาร์กาเลด
อาหารบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยวฯ ให้ปฏิบัติข้อ 1 - 6 แล้วข้ามไปทำข้อ 9-10
- น้ำนมถั่วเหลือง ใช้หลอดฉีดยาดูดตัวอย่าง 1 ซีซี.(1 ml) แล้วทำตามเฉพาะข้อ 9-10 เท่านั้น
- อาหารพร้อมบริโภคประเภท อาหารรถเข็น แผงลอย อาหารในร้าน โรงเรียน ฯลฯ ให้ทำทุกข้อ
|
1. ผู้ตรวจสอบใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดมือทั้ง 2 ข้าง ช้อน กรรไกร
และภาชนะบรรจุอาหาร บริเวณที่ต้องการเปิดภาชนะบรรจุอาหาร
บริเวณที่ต้องการเปิดภาชนะ |
|
2. ใช้ไฟแช็ก รนกรรไกร ถือไว้ไห้เย็นสักครู่ แล้วตัดภาชนะบรรจุ |
|
3. ใช้ไฟแช็กรน ช้อน แล้วถือไว้ให้เย็นสักครู่ |
|
4. ชั่งอาหาร 11 กรัม ใส่ในถุงพลาสติก ปราศจากเชื้อ |
|
5. เทน้ำยา 1 จำนวน 1 ขวด ลงในถุงพลาสติก แล้วเขย่าถุงแรงๆ
อย่างน้อย 25 ครั้ง |
|
6. ใช้หลอดฉีดยาดูดน้ำจากถุง 1 ซีซี (1 ml) (ระวังการปนเปื้อนของ
เชื้อจากภายนอกอย่าให้ส่วนล่างของหลอดฉีดยา สัมผัสกับมือ
ผู้ตรวจสอบหรือสิ่งอื่นๆ ก่อนใช้ดูดน้ำ |
|
7. ฉีดลงในขวดน้ำยา 2 จนหมดปิดฝาให้สนิท แล้วเขย่าขวดแรงๆ
อย่างน้อย 25 ครั้ง |
|
8. ใช้หลอดฉีดยาอันใหม่ดูดน้ำยาจากขวดในข้อ 7จำนวน 1ซีซี.(ml) |
|
9. แตะปลายหลอดฉีดยากับกระดาษทดสอบแล้วฉีดน้ำออกจนหมด |
|
10. รีดอากาศออกจากซองกระดาษทดสอบเบาๆ ปิดซองให้สนิท
เก็บกระดาษทดสอบในที่มืด ที่อุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง |
หมายเหตุ
- อาหารพร้อมบริโภค ประเภทรถเข็น แผงลอย ร้านอาหาร / โรงเรียน ฯ ใช้เกณฑ์คุณภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- อาหารอื่นๆ สอบถามได้ที่สำนักคุณภาพและความปรอดภัยอาหาร
การปฏิบัติเมื่อใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มเสร็จแล้ว
กระดาษทดสอบที่ใช้แล้ว มีเชื้อจุลินทรีย์ให้ฆ่าเชื้อ โดยเทน้ำยาฆ่าเชื้อลงในซองกระดาษทดสอบ
ประมาณ 1/3 ของซอง ปิดซองให้สนิท แล้วทิ้งซอง
ข้อควรระวัง
1. หากน้ำยาฆ่าเชื้อหกเปื้อนมือ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด
2. อย่าวางชุดทดสอบไว้ใกล้มือเด็ก
3. ระวังการใช้ไฟแช็ก อย่าจุดไฟแช็กไกล้สำลีชุบแอลกอฮอล์
การเก็ยรักษาชุดทดสอบ / อายุการใช้งาน
1. ซองกระดาษทดสอบ หลอดฉีดยา ถุงพลาสติกปราศจากเชื้อ และขวดน้ำยา 1,2 เก็บไว้ในตู้เย็น
อายุการใช้งาน 3 เดือนจากวันที่ผลิต
2. ปิดฝาขวดแอลกอฮอล์ให้สนิทตลอดเวลาเพื่อป้องกันแอลกอฮอล์ระเหย ( วิธีทดสอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ใช้งานควรอ่านรายละเอียดคู่มือการใช้ชุดทดสอบ ที่แนบไปพร้อมกับชุดทดสอบอีกครั้ง )
|