
|
บริการ พ่นกำจัดยุงและแมลงนำโรค |
ยุง

|
ยุง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานในดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดี คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes) |
แมลงสาบ

|
แมลงสาบ (อังกฤษ: Cockroach) เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Blattodea หรือ Blattaria จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตไม่สมบูรณ์ คือ ไม่เป็นตัวหนอนและดักแด้ ปัจจุบันเป็นแมลงที่พบกระจายไปแล้วทั่วโลก โดยติดไปกับยานพาหนะต่าง ๆ พบได้ถึงขนาดบนเครื่องบินโดยสาร[1] ถือเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และน่ารังเกียจโดยทั่วไปแล้ว มีลักษณะลำตัวยาวรีเป็นรูปไข่ เป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีส่วนหัวซ่อนอยู่ใต้อก มีหนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ส่วนขายาวมีหนามคลุม ตัวเต็มวัยมีทั้ง มีปีกและไม่มีปีก เป็นแมลงที่หากินตามพื้นดินเป็นหลักตามที่มืด ๆ หรือในเวลากลางคืน ไม่ชอบที่จะบิน และวิ่งได้เร็วมาก |
มด

|
มด เป็นแมลงในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้ |
ปลวก

|
ธรรมชาติใกล้ตัว ปลวก “ยอดนักย่อยสลายในธรรมชาติ”
ชื่อแมลง : ปลวก ชื่อสามัญ : Odontotermes takensis Ahmad
ชื่อวิทยาศาสตร์: Termitidae วงศ์ย่อย: Macrotermitinae
วงศ์: Termitidae
วงจรชีวิต : วงจรชีวิต ของปลวกมี 3 ระยะคือ ไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย
ปลวกรุ่นแรกที่ออกมาจะเป็นปลวกงาน และมี ปริมาณมาก
ตามความต้องการเพราะต้องการปลวกที่จะได้ออกไปหาอาหาร
มาเลี้ยงตัวอ่อนของปลวกรุ่นต่อมาจะเป็น ปลวกทหาร
ซึ่งจะออกมาเพียง 1-2 ตัว และเพิ่มปริมาณมากขึ้น |
หนู

|
หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดในอันดับ สัตว์ฟันแทะ (Order Rodentia) โดยหนูที่เป็นสัตว์ศัตรูพืชจัดอยู่ในวงศ์ Muridae ในประเทศ
ไทยที่สำคัญมี 3 สกุล ได้แก่ สกุลหนูพุก (Bandicota spp.) สกุลหนูท้องขาว (Rattus spp.) และสกุลหนูหริ่ง (Mus spp.)
หนูถูกระบุว่า เป็นพาหะนำโรค 5 โรค [3] ได้แก่
-
กาฬโรค
-
โรคเลปโตสไปโรซีส หรือ โรคฉี่หนู
-
โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด
-
โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย
-
โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวกลม
|
|
|