ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี / สั่งซื้อร่วงหน้า 15 วัน

-หลักการ
อาหารบางชนิดมีการเจือสีลงไปเพื่อปกปิดความบกพร่องของวัตถุดิบทำให้เข้าใจว่าอาหาร นั้นมีการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงสาธารณะสุข จึงมีประกาศฯ ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) ห้ามใช้สีในอาหารบางชนิด ได้แก่ ผักและผลไม้สด เนื้อสัตว์ปรุงแต่งรส บะหมี่ กะปิ กุ้งแห้ง ลูกชิ้น น้ำพริก กุนเชียง แต่ปัจจุบันยังคงตรวจพบ สีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้มีการพัฒนาชุดทดสอบ สีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี เพื่อให้สามารถนำไปตรวจสอบสีในอาหารในภาคสนามได้ ทราบผลได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง

-จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้/ชุด ชุดตรวจ ชนิด ตรวจได้ 20 ตัวอย่าง อายุการใช้งานนับจากวันที่ผลิต 1 ปี
-ความไวของชุดทดสอบ ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  ผลกระทบต่อสุขภาพ ถ้าร่างกายได้รับสีสังเคราะห์เป็นประจำ   สีสังเคราะห์จะถูกดูดซึมที่เยื่อบุผนังระบบทางเดินอาหารทำให้ขัดขวางการหลั่งเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหาร  และเกิดการเบื่ออาการ ร่างกายไม่เติบโตลูกชิ้น  แหน*
  ตัวอย่างเป้าหมาย   ผัก  หรือผลไม้แปรรูป  เนื้อสัตว์ปรุงรส  เส้นบะหมี่    กุ้งแห้ง  แหนม  ไส้กรอก
ข้าวเกรียบ  น้ำพริก  ทอดมัน  กะปิ  กุนเชียง*
  ขั้นตอนการทดสอบ1. การเตรียมตัวอย่าง – ตัวอย่างหั่นละเอียด
2. ตักตัวอย่าง  1 ช้อนชาใส่ในถ้วยพลาสติกเติมน้ำสะอาดประมาณ  20 มิลลิลิตร       และคนด้วยช้อนคนแล้วหยดน้ำยา  1 จำนวน  2-3 หยด  คนแรงๆ ทิ้งไว้ประมาณ  5 นาที     หรือจนสีในอาหารละลายออกหมด3. รินเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำใส่ลงในขวดพลาสติก  ประมาณ  2  มิลลิลิตร4. หยดน้ำยา  2  ประมาณ  2  มิลลิลิตร  ปิดฝาและเขย่าแล้วแกะพลาสติกที่เป็นคอลัมน์ออก     วางคอลัมน์ลงในหลอดแก้ว5.ใช้หลอดหยดดูดสารละลาย  จากข้อ  4  ประมาณ  1 หลอด หยดลงในคอลัมน์    รอจนไม่มีน้ำยาเหนือผงละเอียดสีขาว6.ให้เทน้ำยาในขวดแก้วที่รองรับทิ้ง แล้วหยดน้ำยา 3 ให้สังเกตการเครื่อนตัวของแถบสี    และสีของสารละรายในขวดแก้วที่รองรับ ทำซ้ำอีก1 ครั้ง7.ถ้าพบแถบสีที่ผงละเอียดสีขาวในคอรัมน์ให้เทสารละลายในขวดที่แก้วรองรับทิ้ง และหยดน้ำยา 4    ลงในคอรัมน์ให้ระดับน้ำยาอยู่ต่ำกว่าขอบด้านบนเล็กน้อย ให้สังเกตการเครื่อนตัวของแถบสี    และสีของสารละลายในขวดแก้วที่รองรับ 
      การประเมิน1.ในขั้นตอนที่ 6 ถ้ามีการเครื่อนตัวของแถบสี    หรือพบสีของสารละลายในขวดแก้วที่รองรับแสดงว่ามีสีธรรมชาติในตัวอย่างอาหารนั้น2.ในขั้นตอนที่ 7 ถ้ามีการเครื่อนตัวของแถบสี    หรือพบสีของสารละลายในขวดแก้วที่รองรับแสดงว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ในตัวอย่างนั้น3.ไม่พบการเครื่อนตัวของแถบสี    หรือสารละลายในขวดแก้วที่รองรับไม่มีสีแสดงว่าเป็นสีธรรมชาติของอาหารนั้น         การปฎิบัติเมื่อใช้ชุดทดสอบเสร็จ*เขียง มีด ถ้วยพลาสติก หลอดทดลอง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดผึ่งให้แห้งก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่อง   ชุดทดสอบ*หลอดหยด ให้ใช้หลอดหยดดูดน้ำสะอาดแล้วบีบทิ้ง ทำซ้ำ 3-4 ครั้ง ทิ้งให้แห้ง   ก่อนที่จะนำไปเก็บในกล่องชุดทดสอบ
ข้อควรระวัง*น้ำยาสี 1,3 และ 4 เป็นสารละลายอินทรีย์ที่ระเหยง่ายที่อุณหภูมิห้อง เมื่อใช้แล้วปิดจุกให้แน่น ระวังอย่าสูดไอของสารเหล่านี้โดยตรง*หากหกเปื้อนมือ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ให้ล้างด้วยน้ำและฟอกสะบู่ให้สะอาด*อย่าวางชุดทดสอบไว้ใกล้มือเด็กหรือที่ที่ถูกแสงแดด